รูปแบบของเครื่องมือตรวจรังสี

เครื่องมือตรวจรังสี

เครื่องมือตรวจรังสี เป็นอุปกรณ์ชนิดหนึ่งที่ใช้เกี่ยวเนื่องกับด้านการสำรวจและวิทยาศาสตร์ เป็นอุปกรณ์ที่ใช้วัดค่ารังสีเพื่อนำค่าที่ได้มาใช้เป็นข้อมูลในการวิเคราะห์วิจัยต่อไป 

ปัจจุบันเครื่องมือตรวจรังสี ก็มีหลากหลายรูปแบบ โดยได้มีการพัฒนาตัวเครื่องมือให้สามารถใช้งานได้ตรงตามวัตถุประสงค์มากขึ้น เน้นการใช้สอยที่ตรงจุด จะมีรูปแบบใดบ้างลองมาดูกันเลย 

เครื่องมือตรวจรังสี

เครื่องมือตรวจรังสีมีแบบไหนบ้าง? 

  • เครื่องวัดรังสีแบบพื้นฐาน 

 เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับการตรวจรังสีที่มีการนิยมใช้งานกันโดยทั่วไป เรียกได้ว่าเป็นอุปกรณ์พื้นฐานที่ต้องมีเอาไว้ ก่อนที่จะมีอุปกรณ์ในรูปแบบอื่น ๆ ซึ่งเครื่องมือในกลุ่มนี้ก็ได้แก่ เครื่องสำรวจรังสี, เครื่องบันทึกรังสีประจำตัวบุคคล, เครื่องวัดรังสีประจำตัวบุคคลชนิดเตือนภัย และสุดท้ายคือ เครื่องตรวจวัดรังสีประจำที่ 

  • เครื่องสำรวจรังสี 

เครื่องมือในรูปแบบนี้ จะเป็นเครื่องมือสำหรับตรวจหารังสีที่จะใช้แบตเตอรี่เป็นแหล่งพลังงาน เหมาะสำหรับการใช้งานแบบพกพา หรือการนำเครื่องมือออกไปตรวจวัดนอกสถานที่ มีขนาดไม่ใหญ่มาก จึงง่ายต่อการเคลื่อนย้าย เช่นเครื่องมือ Geiger Muller Counter, Lonization Chamber 

  • เครื่องบันทึกรังสีประจำตัว 

เครื่องมือในรูปแบบนี้ เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับการบันทึกปริมาณรังสีที่ร่างกายได้รับ โดยเครื่องตรวจรังสีชนิดนี้จะจำเป็นกับคนที่ทำงานเป็นเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานด้านรังสี มักจะพกติดตัวหรือวางไว้ใกล้ตัวอยู่เสมอเพื่อง่ายต่อการหยิบจับและนำไปใช้งาน มีหลากหลายชนิด เช่น Pocket dosimeter, Film Badge, Thermoluminescent (TLD) 

  • เครื่องวัดรังสีแบบเตือนภัย 

อุปกรณ์นี้ เป็นเครื่องมือตรวจวัดรังสีประจำตัวแบบเตือนภัย เวลาใช้งานจะต้องพกพาติดตัว โดยตัวเครื่องมือนี้จะมีการส่งสัญญาณออกมาเป็นเสียงหรือแสงออกมาจากตัวเครื่อง เพื่อแสดงให้ผู้ที่ใช้งานเครื่องมือนี้อยู่ได้ทราบว่า เครื่องได้ตรวจพบว่าระดับของรังสีนั้นออกมาในปริมาณที่สูงเกินกว่าค่าที่กำหนดไว้ในตัวเครื่อง 

  • เครื่องมือตรวจรังสีแบบประจำที่ 

เครื่องมือชนิดนี้ ก็มีลักษณะการใช้งานตามชื่อที่เรียกเลย คือการตั้งประจำที่ เพราะมันมีขนาดใหญ่นั่นเอง จึงเหมาะสำหรับการใช้งานแบบตั้งประจำที่ในสถานที่ที่ต้องใช้งานเครื่องมือนี้เป็นประจำ โดยลักษณะการทำงานของเครื่องมือตรวจรังสีแบบประจำที่ก็คือ เมื่อเครื่องมือได้ตรวจสอบแล้วพบว่ามีปริมาณของรังสีสูงกว่าค่าที่ผู้ใช้งานได้กำหนดไว้ในตัวเครื่อง มันก็จะส่งสัญญาณเตือนให้ทราบ ทั้งในรูปแบบของเสียงแจ้งเตือน และแบบแสงแจ้งเตือน เพื่อบ่งบอกให้ผู้ใช้งานได้ทราบโดยเร็วที่สุดว่ามีปริมาณรังสีสูงเกินไป จะได้รีบดำเนินการควบคุมโดยเร็วที่สุดนั่นเอง

You Might Also Like